วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หลักในการถนอมอาหาร


หลักในการถนอมอาหาร

การถนอมอาหารเพื่อให้เก็บรักษาได้นานมีคุณค่าทางโภชนาการควรยึดหลัก ดังนี้ 
1.  รักษาความสะอาด  ควรเริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ  ภาชนะ  อุปกรณ์  ตลอดจนความสะอาดของ ผู้ทำการถนอมอาหาร วิธีง่าย ๆ คือ  ต้มหรือลวกภาชนะเพื่อทำลายจุลินทรีย์ ต่าง ๆ  หลากหลายชนิด  สามารถเข้าไปปะปนกับอาหารที่ตั้งทิ้งไว้ได้

2.  ผู้ที่ทำการถนอมอาหาร ควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการที่จะนำมาใช้ การถนอมวัตถุดิบ ชนิดเดียวกันไม่จำเป็นต้องใช้เพียงวิธีเดียวอาจใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันก็ได้ จะทำให้ การถนอมอาหารมีประสิทธิภาพและสามารถเก็บรักษาอาหารได้ดีขึ้น เช่น การใช้ความร้อน  การใช้ความเย็น  การใช้น้ำตาลช่วยในการถนอมอาหาร  เป็นต้น

3. เลือกใช้วิธีการถนอมอาหารที่สามารถทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก เช่น  เนื้อสัตว์ใช้ 
วิธีทำ เนื้อเค็มตากแห้งแทนการทำเนื้อกระป๋อง ซึ่งต้องใช้เทคนิคความชำนาญเฉพาะ เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 

4.  ควรประหยัดต้นทุนราคาวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์  เช่น  ถ้าต้องการทำน้ำผลไม้ 
บรรจุขวดก็ควรเลือกผลไม้ที่มีมากในฤดูกาลนั้น ใช้ขวดที่หาง่าย ไม่แตกง่าย ใช้วิธีหนึ่ง ฆ่าเชื้อ เป็นต้น 

5.  รักษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไว้ให้ได้มากที่สุด อาหารที่ถนอม
เสร็จแล้วควรมีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการ  มีความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคโดยต้องเลือกใช้วิธีถนอมอาหารที่เหมาะสม และใช้สารเคมีในการ
ถนอม อาหารอย่างถูกต้อง
                                                                                                                         


                                                                                                                                           แหล่งที่มา
                                                                               http://signuphowto.blogspot.com/2012/02/blog-post_24.html
                                                                  

สาเหตุที่ทำให้อาหารเน่าเสีย


สาเหตุที่ทำให้อาหารเน่าเสีย
 การเสื่อมเสียของอาหาร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของคุณลักษณะคุณภาพของอาหารไปในทางที่ไม่ต้องการ ซึ่งรวมถึงสี กลิ่น รส รูปร่างลักษณะเนื้อสัมผัสและคุณค่าทางโภชนาการ ตลอดถึงความปลอดภัยการบริโภคอาหารที่เกิดการเสื่อมเสียแบ่งตามความยาก 
ง่ายในการเน่าเสียแล้ว จะแบ่งได้ ประเภท

1.  อาหารประเภทเน่าเสียยาก คืออาหารที่มีความคงตัวดี มีปริมาณน้ำหรือความชื้นน้อย สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำตาล และแป้งอาหารประเภทนี้มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 12 เก็บไว้ได้นานเป็นเวลาหลายเดือนหรือเป็นปี                  
 2.  อาหารประเภทเน่าเสียเร็วปานกลาง คืออาหารที่มีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก เช่น ผัก และผลไม้ที่แก่เต็มที่ ถึงแม้ว่าอาหารส่วนใหญ่จะมีเปลือกหุ้มไว้ จึงทำให้สามารถเก็บอาหารไว้ได้เป็นเวลาค่อนข้างนาน บางชนิดอาจเกิดการเน่าเสียได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
3.  อาหารประเภทเน่าเสียเร็ว คืออาหารที่มีปริมาณน้ำมากจะเน่าเสียได้ง่ายมาก เช่น เนื้อสัตว์ ไก่ นมสด และอาหารทะเล มักจะเกิดการเน่าเสียขึ้นภายใน
1-2 สัปดาห์

สาเหตุของการเน่าเสีย มีดังนี้
                   -  การเน่าเสียจากสิ่งมีชีวิต                           
                   -  การเน่าเสียจากปฏิกิริยาหรือตัวสารเคมี
                   -  การเน่าเสียจากสาเหตุอื่น ๆ  

การปลูก และการบำรุงรักษา



การปลูก และการบำรุงรักษา

        ต้นไม้ที่นำมาปลูกส่วนใหญ่มักจะบรรจุในถุงพลาสติกให้ใช้มีดกรีดถุงออก ควรระวังคือ อย่าให้รากของต้นไม้ได้รับความกระทบกระเทือนมากนัก เสร็จแล้ววางต้นไม้ลงในหลุมที่ขุดให้ระดับรอยต่อระหว่างลำต้นกับรากอยู่เสมอกับระดับขอบหลุม แล้วกลบหลุมด้วยดินผสมที่เตรียมไว้สำหรับปลูกหรือใช้ดินที่ขุดขึ้นจากหลุมที่เป็นดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยดี อย่าใช้ดินเหนียวที่แน่นหรือดินที่มีกรวดหินมาก ๆ กลบหลุม เพราะจะเป็นปัญหาทำให้รากต้นไม้เจริญเติบโตได้ไม่ดี เมื่อกลบหลุมเสร็จแล้วใช้เท้าเหยียบดินให้แน่นพอประมาณ นำเศษใบไม้หญ้าหรือฟางมาคลุมรอบโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นและป้องกันการกัดเซาะของน้ำในขณะรดน้ำต้นไม้ หาไม้หลักซึ่งมีความสูงมากกว่าต้นไม้พอประมาณมาปักข้าง ๆ ผูกเชือกยึดกับต้นไม้อย่างหลวม ๆ เพื่อช่วยในการทรงตัวของต้นไม้และป้องกันลมพัดโยก เมื่อปลูกเสร็จรดน้ำให้ชุ่มและถ้าเป็นไปได้ควรรดน้ำวันละครั้ง จนต้นไม้ตั้งตัวได้ กรณีที่ปลูกเป็นพื้นที่มากๆ ควรปลูกในช่วงฤดูฝน ขณะฝนตกหรือหลังฝนตกใหม่ ๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการรดน้ำต้นไม้ ภายหลังการปลูกต้นไม้โดยปกติควรรดน้ำติดต่อกันทุกวันในเวลาเย็นอย่างน้อยวันละ ครั้ง ตลอด สัปดาห์ การรดน้ำควรรดน้ำให้ชุ่ม ถ้าต้องการทราบว่าได้รดน้ำเพียงพอแล้วหรือไม่ ให้ทดลองขุดดินดูว่าน้ำซึมลง
ไปถึงบริเวณรากต้นไม้หรือยัง ถ้ารดน้ำน้อยไปน้ำจะซึมลงไปไม่ถึงบริเวณรากต้นไม้   การพรวนดินใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช  วัชพืชเป็นตัวการที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตช้า ควรมีการกำจัดวัชพืชโดยการถากถาง และพรวนดินรอบโคนต้นไม้ในรัศมี เมตร ปีละ ครั้ง ในขณะพรวนดินถ้ามีปุ๋ยวิทยาศาสตร์จะโรยรอบ ๆ โคนต้นประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ แล้วรดน้ำหรือใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มเติมก็ได้
       หลังจากได้ปลูกต้นไม้แล้วผู้ปลูกควรคำนึงถึงอันตรายที่อาจจะเกิดกับต้นไม้ในระยะเริ่มแรกที่มีขนาด
เล็กยังตั้งตัวไม่ได้ เช่น อันตรายจากสัตว์เลี้ยง ยานพาหนะต่าง ๆ หากปลูกจำนวนน้อยอาจทำคอกป้องกัน
หรืออาจทำรั้วกั้นเป็นแนวไว้ได้ สำหรับต้นไม้บางชนิดที่ต้องการความเอาใจใส่มากตั้งตัวได้ยากควรจะมีการ
บังแดดให้ในระยะที่ตั้งตัวไม่ได้ อย่างไรก็ตามการปลูกต้นไม้ให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลบำรุงรักษาที่ดีจากผู้ปลูกมากพอสมควร

        - ภายหลังการปลูกต้นไม้โดยปกติควรรดน้ำติดต่อกันทุกวันในเวลาเย็นอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ตลอด 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจให้ลดลงเป็นวันเว้นวัน หรือ 2 วัน ครั้งจนสังเกตเห็นต้นไม้ตั้งตัวได้
        การพรวนดินใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นตัวการที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตช้าควรมีการกำจัดวัชพืชโดยการ ถากถาง และพรวนดินรอบโคนต้นไม้ในรัศมี 1 เมตร ปีละ 2 ครั้ง ในขณะพรวนดินถ้ามีปุ๋ยวิทยาศาสตร์จะโรยรอบ ๆ โคนต้นประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ แล้วรดน้ำหรือใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มเติมก็ได้
        การตรวจดูแลต้นไม้และฉีดยาป้องกันกำจัดโรคและแมลง ตลอดจนระวังไฟ โดยปกติต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ย่อมถูกแมลง โรค เห็ด รา รบกวนเป็นธรรมดา การเจริญเติบโตของต้นไม้โดยธรรมชาติมีความแข็งแรงอยู่ในตัวพอสามารถสู้ต้านทานกับโรค แมลงและเห็ดราต่าง ๆ ได้ดีพอสมควร หากผู้ปลูกช่วยบำรุงรักษาต้นไม้ให้ถูกวิธี ต้นไม้จะเจริญเติบโตได้รวดเร็วมีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะต่อต้านอันตรายจากสิ่งเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการหมั่นตรวจตราดูแลโรค แมลงที่เกิดกับต้นไม้ และใช้ยาฉีดกำจัดได้ทันเหตุการณ์ในกรณีที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ จะต้องมีการระวังไฟ ควรมีการแผ้วถางวัชพืชปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย และทำแนวป้องกันไฟล้อมรอบ ถ้าหากปลูกเป็นแนวยาว เช่น ตามแนวถนนต้องกำจัดวัชพืชที่จะเป็นเชื้อเพลิงในช่วงปลายฤดูฝน หรือก่อนเข้าฤดูแล้งตลอดแนวทาง การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้อย่างเอาใจใส่ และการปลูกต้นไม้จะสำเร็จหรือไม่ก็อยู่ที่การป้องกันให้ต้นไม้พ้นจากอันตรายจากไฟและอันตรายจากสิ่งแวดล้อมทั้งปวง





การเตรียมพื้นที่ปลูกและเลือกพันธุ์ไม้ที่จะปลูก และ จัดหาอุปกรณ์



 การเตรียมพื้นที่ปลูกและเลือกพันธุ์ไม้ที่จะปลูก และ จัดหาอุปกรณ์

 เมื่อผู้ปลูกได้ตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของการปลูกต้นไม้ไว้เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จำเป็นต้องกระทำต่อไปคือ การกำหนดพื้นที่เพื่อให้มีความเหมาะสมกับชนิดพันธุ์ไม้ที่เลือกปลูก หากเลือกพื้นที่ปลูกไม่สอดคล้องกับชนิดพันธุ์ไม้ที่ปลูกจะทำให้ได้ประโยชน์ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยทั่วไปแล้วมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องนำมาประกอบการพิจารณาดังนี้ 
        ปัจจัยแรกเกี่ยวกับลักษณะของดิน ผู้ปลูกควรพิจารณาสภาพของดินว่ามีความอุดมสมบูรณ์หรือลักษณะดินเป็นดินประเภทใด มีสภาพความเป็นกรดหรือเป็นด่างอย่างไร เป็นดินเหนียว ดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดีหรือไม่เพียงใด พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มหรือมีความลาดเอียง ใกล้ไกลแหล่งน้ำเหมาะสมกับพันธุ์ไม้ชนิดใด นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาศประกอบอีกด้วย ประการต่อมาต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมพื้นที่ที่จะกำหนดปลูกว่ามีสภาพเป็นอย่างไร ต้องให้มีความปลอดภัยกับต้นไม้ และปัจจัยสุดท้ายคือ การกำหนดระยะปลูก 
ผู้ปลูกจะต้องกำหนดระยะปลูกระหว่างต้นไม้ให้มีความเหมาะสมกับชนิดและขนาดของต้นไม้ที่จะปลูก
 
       การเตรียมดินเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งของการปลูกต้นไม้ และจะให้ได้ผลดีจะต้องมีการเตรียมการ
ล่วงหน้าพอสมควร ปรับระดับพื้นที่ให้ได้ตามต้องการเสียก่อน และเพื่อความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย 
ผู้ปลูกควรได้กำหนดแผนผังการปลูกต้นไม้ไว้ก่อน ขั้นตอนต่อไปเป็นเรื่องปกติไม่ว่าดินจะเป็นดินชนิดใดหรือมีทำเลเป็นอย่างไร
                
                 1. อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปลูกต้นไม้ ควรจัดหาและเตรียมให้พร้อมเพื่อ
                     ความสะดวกใน การปลูกต้นไม้ มีจอบ เสียม พลั่วตักดิน บุ้งกี๋ ตลอดจนยานพาหนะ
                     ลำเลียงขนส่งกล้าไม้ไปยังจุดที่เตรียมหลุมปลูก
                 2. หน้าดินผสมสำหรับกลบหลุมปลูก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก สำหรับรองก้นหลุม ตลอดจนสาร
                     อุ้มน้ำ(ถ้ามี) และใช้ในกรณีปลูกก่อนหรือหลังฤดูฝน
                 3. หลักค้ำยัน ยึดต้นไม้ กันลมพัดโยกและช่วยในการทรงตัวของต้นไม้ให้ตั้งตรง เชือก
                     สำหรับผูกยึดต้นไม้กับหลัก 







แหล่งที่มาhttp://www.forest.go.th/nursery/index.php?option=com_content&view=article&id=312&Itemid=415&lang=th

การดูแลรักษาโทรทัศน์


การดูแลรักษาโทรทัศน์

เมื่อรู้ถึงวิธีการเลือกซื้อโทรทัศน์แล้ว ต่อไปคุณก็ต้องมาทราบถึงวิธีการดูแลรักษาและวิธีการใช้งานที่ถูกวิธี เพื่อที่โทรทัศน์จะได้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภทหากใช้และดูแลรักษาไม่ถูกวิธีแล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าอาจจะเสียหายก่อนถึงเวลาอันควร และสิ้นเปลืองไฟฟ้ามากกว่เดิม
วิธีการใช้จะช่วยประหยัดไฟและถูกวิธี อันดับแรกคือต้องเลิกนิสัย เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดนไม่มีคนดู  จากสถิติหากมีการเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้วันละ1ช.ม.พร้อมกัน1ล้านเครื่อง จะสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าถึงเดือนละ8.25ล้านบาท นอกจากนี้เวลาที่ปิดโทรทัศน์ควรจะปิดที่ตัวเครื่อง ไม่ควรปิดด้วยรีโมท เพราะหากปิดที่รีโมทโทรทัศน์ก็จะยังกินไฟฟ้าอยู่ดี  หากคุณรู้สึกตัวว่าจะหลับขณะที่ดูโทรทัศน์อยู่ก็ควรที่จะตั้งเวลาปิดเอาไว้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องให้โทรทัศน์มาดูคุณ 
 ทั้งหมดก็คือวิธีการเลือกซื้อและดูแลรักษาโทรทัศน์ในเบื้องต้น              
 ก็ขอให้คุณนำไปเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
 เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าใช้ด้านไฟฟ้าแล้ว ยังช่วยยืดอายุการ
ใช้งานของโทรทัศน์ให้ยาวนานขึ้นกว่าเดิมอีกด้วยครับ



การดูแลรักษาขวดแก้ว


การดูแลรักษาขวดแก้ว
แก้วทรงต่างๆทำความสะอาดอย่างไร 
รอยนิ้วที่ติดเป็นคราบมันเลอะตามถ้วยแก้วและแก้วทรงสูง ใช้เกลือป่นเช็ดออกจนสะอาดหมดจดตามเดิม ถ้าเป็นแก้วทรงสูงต้องต้องใช้แปรงล้างขวดแยงลงไปทำความสะอาด สมมติว่าไม่มีแปรงล้างขวดให้ใช้เปลือกไข่ดิบ บีบให้แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมน้ำใส่ลงไปในถ้วยแล้วเขย่าสักครู่ ถ้วยแก้วก็จะสะอาดเอี่ยม 
แก้วซ้อนกันแก้ได้นะ 
ถ้วยแก้ววางซ้อนกัน อาจดูดกันเอง ดึงไม่ออก ถ้าดึงแรงก็อาจจะร้าวและเสียของ ให้เอาถ้วยแก้วใบล่างแช่ในน้ำร้อน รินน้ำเย็นใส่ถ้วยใบบน แก้ว ใบจะหลุดออกจากกันได้เอง 

แก้วแตกเก็บเศษแก้วได้อย่างไร 
เมื่อทำแก้วแตก เศษแก้วชิ้นใหญ่ ๆ พอเก็บให้หมดได้ แต่ชิ้นเล็กละเอียดจะมองไม่เห็น ให้ใช้มันฝรั่งหรือหัวไชเท้าหั่นเป็นชิ้นใหญ่ ๆ ตบบนพื้นตรงที่มีเศษแก้วอยู่ เศษแก้วก็จะหมดไป หรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ชุบน้ำพอหมาดไปปูบริเวณนั้น ค่อย ๆ กดให้ทั่ว เศษแก้วจะติดขึ้นมาหมด 
ถ้าแก้วแตกลงบนพื้น เวลาเก็บจะตำมือ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำ บิดให้แห้ง นำมาซับแล้วนำไปสลัดในถังขยะ ถูหลาย ๆ ครั้งจนหมดเศษแก้ว 
เมื่อเศษแก้วแตกและคุณต้องการทิ้ง ควรจะรวมทิ้งในกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด เพราะถ้าใส่ถุงกระดาษเวลาทิ้งอาจจะบาดนิ้วพนักงานเวลาเก็บขยะได้ และไม่ควรใส่ในถุงพลาสติก ควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หลาย ๆ ชั้นให้มิดชิดแล้วใส่ลงในถุงอีกที รัดปากถุงให้แน่นก่อนนำไปทิ้ง
แก้วไม่แตกถ้ารินน้ำร้อนถูกวิธี 
ถ้ารินน้ำที่กำลังเดือดลงในแก้ว แก้วจะแตกทันที ควรเทน้ำร้อนลงในแก้วเล็กน้อยแล้วเขย่าให้ความร้อนกระจายทั่วเนื้อแก้ว แล้วจึงค่อยรินน้ำร้อนต่อไป หรือเวลารินให้ปลายกาสูง ๆ จะทำให้ไอความร้อนระเหยไป แก้วจะไม่แตก 
ขวดแก้วบรรจุใส่ลังอย่างไร 
ขวดเป็นจำนวนมาก เมื่อจะวางขวดลงบรรจุในลังหลาย ๆ ใบ หาผ้าหรือกระดาษนิ่ม ๆ พับสอดไว้ระหว่างขวดเหล่านั้น เพื่อไม่ให้กระทบกันและแตกร้าว ถ้าต้องเรียงขวดทับกันมาก ๆ ใช้วิธีเดียวกันนี้ แต่พันรอบจุกขวดด้วยพลาสเตอร์หรือเทปกาว 
ขวดแก้วสกปรกล้างอย่างไร 
ใช้ทรายหรือกรวดก้อนเล็ก ๆ ใส่ลงไปสักเล็กน้อย ในขวดแก้วที่หมองและขุ่น หรือมีตะไคร่
เติมน้ำและผงซักฟอกแล้วเขย่าแรง ๆ สัก 2-3 นาที แล้วล้างให้สะอาดอีกทีด้วยน้ำเปล่า ขวดจะใสแจ๋ว 
เทน้ำส้มสายชูผสมน้ำร้อนลงในขวด ทิ้งไว้ค้างคืน รุ่งเช้านำมาเขย่าแล้วล้างอีกที 
ขวดที่หมองมาก ๆ ลองลอกเปลือกมะเขือเทศใส่ลงไปในขวด เติมน้ำให้เต็ม
ปล่อยไว้จนเปลือกมะเขือเทศเริ่มเปื่อย แล้วเทออก ใช้น้ำล้างให้หมดจด
 ขวดจะดูใสสะอาด




ทำความสะอาดและยืดอายุการใช้งานเฟอร์นิเจอร์ประเภทผ้า


ทำความสะอาดและยืดอายุการใช้งานเฟอร์นิเจอร์ประเภทผ้า

เมื่อถึงเวลาต้องทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากผ้า คุณย่อมต้องการให้มันกลับมาดูเหมือนใหม่แกะกล่องและกลับมารู้สึกเหมือนครั้งแรกที่ได้ใช้งาน เพื่อคงสภาพเดิมของเฟอร์นิเจอร์ให้ได้นานที่สุด ให้ทำตามข้อแนะนำง่ายๆ เหล่านี้

    อย่าให้สัตว์เลี้ยงขึ้นมาบนเฟอร์นิเจอร์เด็ดขาด เพราะในเวลาอันสั้น สัตว์เลี้ยงทั้งหลายสามารถทำความเสียหายให้กับเฟอร์นิเจอร์ได้เทียบเท่ากับการใช้งานธรรมดานานหลายปีทีเดียว นอกจากนี้ สอนเด็กๆ ว่าไม่ให้ปีนขึ้นไปบนเฟอร์นิเจอร์ เพราะส้นรองเท้า แม้แต่ที่ทำจากยางก็ตาม สามารถสร้างความสึกกร่อนให้กับเฟอร์นิเจอร์ได้ในระดับที่เร็วกว่าปกติทั้งนั้น ระวังของปลายแหลมบนหัวเข็มขัด หมุดบนเข็มขัดหรือกางเกงยีนส์ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของของเล่น ซึ่งจะไปเกี่ยวเอาด้ายจากผ้าบนเฟอร์นิเจอร์ให้เสียหายได้


    อย่าใช้สารซักฟอกที่มีส่วนผสมของน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำหอม หรือสารปรุงแต่งใดๆ ยิ่งถ้าคุณต้องการปกป้องลวดลายหรือสีอ่อนๆ ของผ้า ให้เลือกสารทำความสะอาดแบบน้ำที่ไม่ผสมสารปรุงแต่งใดๆ และไม่เทสารซักฟอกลงไปถูกเนื้อผ้าโดยตรง ให้เทลงในเครื่องขณะที่คุณเพิ่มเปิดน้ำ

    โดยทั่วไปแล้ว ควรใช้แปรงทำความสะอาดหรือเครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดผ้าหุ้มที่ห่อหุ้มด้านนอกของเฟอร์นิเจอร์บ้าง ในการทำความสะอาดผ้าหุ้มให้ใช้สารทำความสะอาดยี่ห้อที่สีชื่อเสียงและทำตามคำแนะนำที่บอกไว้ในคู่มืออย่างเคร่งครัด ซึ่งส่วนใหญ่จะแนะนำไม่ให้ทำผ้าเปียกชุ่มหรือซักด้วยอุณหภูมิที่สูงเกิน และเพื่อกันไว้ก่อน ให้ลองทดสอบสารทำความสะอาดนั้นในส่วนที่มองไม่เห็นก่อนใช้จริง

    สำหรับสารทำความสะอาดที่ใช้ในการซักมือโดยเฉพาะอาจจะใช้สำหรับการซักทำ
ความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ที่บ้านได้ โดยสารเหล่านี้จะ
มีประสิทธิภาพดีเมื่อใช้กับน้ำเย็น

    น้ำยาปรับผ้านุ่มทั้งแบบน้ำและแบบแผ่นแห้งนั้น
จะไปเพิ่มสารบางอย่างให้กับผ้าของคุณ น้ำยาปรับผ้านุ่มบางชนิด
มีส่วนผสมของขี้ผึ้งที่จะเกาะอยู่ที่ผิวชั้นนอกของใยผ้าและ
สร้างความรู้สึกว่าผ้านุ่นขึ้น แต่ขี้ผิวนี้จะไปลดคุณสมบัติการดูดซับของผ้า นอกจากนี้ น้ำยาปรับผ้านุ่มบางยี่ห้อก็ผสมน้ำหอมซึ่งบางคนก็อาจมีอาการแพ้





ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว




ชื่อ: นาย พชรพล  ชูราศรี [Pacharapol  Churasri]
ชื่อเล่น: ป่าน [Paan]
วันเกิด: 02 มิถุนายน 2541
อายุ: 16ปี
สถานที่ศึกษาปัจจุบัน: โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
Line: linkinpaan

กำหนดวัตถุประสงค์ที่จะปลูก


 กำหนดวัตถุประสงค์ที่จะปลูก

ในกรณีที่พื้นที่เตรียมการปลูกเป็นดินเหนียวจัด ควรเอาน้ำรดให้ชุ่มเสียก่อนเพื่อให้ขุดง่ายเบาแรงขึ้นดินที่ขุดขึ้นควรใช้ปูนขาว หรือ สารเคมีปรับปรุงดินบางชนิด เช่น โดโรไมค์ ผสมกับทรายและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้ากับเนื้อดินตากแดดทิ้งไว้นานประมาณ 1-2 สัปดาห์ รดน้ำเป็นระยะพร้อมกับพรวนดินตามสมควร จะทำให้ดินร่วนและดีขึ้น สำหรับพื้นที่ที่ดินเป็นดินปนทรายมากการปรับปรุงดินจำเป็นต้องใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก เพื่อทำให้ดินจับเป็นก้อนแน่นอุ้มน้ำและมีอาหารพืชมากขึ้น












วิธีการถนอมอาหาร


วิธีการถนอมอาหาร

1. การถนอมอาหารโดยตากแห้ง เป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ เป็นวิธีที่ทำให้อาหารหมดความชื้นหรือมีความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเกาะอาศัยและเจริญเติบโตได้ ทำให้อาหารไม่เกิดการบูดเน่า โดยการนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น
2. การถนอมอาหารโดยการดอง โดยใช้จุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยจุลินทร์ทรีย์นั้นจะสร้างสารบางอย่างขึ้นมาในอาหาร ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวอื่นๆได้ ดังนั้นผลของการหมักดองจะทำให้อาหารปลอดภัยจากจุลินทร์ทรีย์ชนิดอื่นๆ และยังทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม เป็นการเพิ่มกลิ่น และรสชาติของอาหารให้แปลกออกไป
3. การถนอมอาหารโดยการเชื่อม  การถนอมอาหารด้วยการเชื่อม เป็นการนำผลไม้ไปต้มลงในน้ำเชื่อมจนผลไม้มีลักษณะนุ่ม เป็นประกาย ซึ่งเป็นการใช้น้ำตาลมาช่วยในการถนอมอาหาร มีลักษณะการใช้น้ำตาลเช่นเดียวกับวิธีการแช่อิ่ม การเชื่อมนิยมทำ เมื่อจะเก็บผลไม้บรรจุขวดหรือกระป๋อง
4. การถนอมอาหารด้วยวิธีการกวน การที่นำเนื้อผลไม้ที่สุกแล้วผสมกับน้ำตาล โดยใช้ความร้อน เพื่อกวนผสมให้กลมกลืนกัน โดยมีรสหวาน และให้เข้มข้นขึ้นการใส่น้ำตาลในการกวนมี  2 วิธี คือ ใส่น้ำตาลแต่น้อยใช้กวนผลไม้ เพื่อทำแยม เยลลี่ เป็นต้น และการกวนโดยใช้ปริมาณน้ำตาลมาก เช่น การกวนผลไม้แบบแห้ง เช่น กล้วยกวน สับปะรดกวน ทุเรียนกวน เป็นต้น
5. การทำแยม การทำแยม เป็นการต้มเนื้อผลไม้ปนกับน้ำตาลด้วยไฟอ่อนในระยะแรก แล้วค่อย ๆ เพิ่มไฟขึ้นทีละน้อย หมั่นคนสม่ำเสมอ จนกระทั่งแยมเหนียวตามต้องการ กล่าวคือ เมื่อใช้ช้อนตักขึ้นแล้ว
6. การรมควัน การรมควันเป็นการถนอมอาหารที่ต่างไปจากการ ตากแห้งธรรมดา นอกจากจะทำให้อาหารแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาให้อาหารเก็บได้นาน มีกลิ่นหอมและรสชาติแปลกซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก การรมควันที่สามารถทำได้ในครอบครัวจะเป็นแบบธรรมชาติิโดยการสุมไฟด้วยไม้กาบมะพร้าว ขี้เลื่อย ซางข้าวโพด ให้แขวนอาหารไว้เหนือกองไฟใช้ไฟอ่อนๆเพื่อให้รมควันอาหารไปพร้อมกับไอร้อนจะช่วยทำให้อาหารแห้งเร็ว เช่น รมควันปลา เป็นต้น






          แหล่งที่มา
                                                                               http://signuphowto.blogspot.com/2012/02/blog-post_24.html